วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การเลี้ยงปลาทอง


   การเลี้ยงปลาทอง

                    เป็นการเลี้ยงเพื่อให้ปลาทองมีขนาดใหญ่เหมาะสมที่จะส่งตลาดต่อไป บ่อเลี้ยงปลาทองควรเป็นบ่อซีเมนต์ มีขนาด 2 - 4 ตารางเมตร และควรมีจำนวนหลายบ่อ หากต้องการให้ ปลาเจริญเติบโตเร็วจะต้องจำกัดจำนวนปลาที่ปล่อยเลี้ยง โดยปล่อยในอัตรา 50 ตัวต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ควรทยอยคัดปลาจากบ่ออนุบาลมาปล่อยลงบ่อเลี้ยง จากนั้นเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดประมาณ 40 - 60 วันปลาจะเติบโตจนสามารถส่งจำหน่ายได้ เมื่อส่งปลาออกจำหน่ายแล้วก็ทยอยคัดปลาจากบ่ออนุบาลมาปล่อยเลี้ยงอีกต่อไป สำหรับลูกปลาที่เหลืออยู่ในบ่ออนุบาลซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ถึงแม้จะมีการให้อาหารดีและมีการถ่ายน้ำสม่ำเสมอ ลูกปลาก็จะเจริญเติบโตขึ้นไม่มากนัก เนื่องจากจำนวนปลาเป็นข้อจำกัด แต่เมื่อถูกกระจายออกไปยังบ่อเลี้ยงก็จะสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้
            ปัจจุบันมีการอนุบาลและเลี้ยงปลาทองในบ่อดิน  โดยใช้บ่อขนาด 100 - 200 ตารางเมตร
.

ตัวอย่างฟาร์ปลาทองที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี มีบ่อซิเมนต์ 487 บ่อ ในพื้นที่ 2 ไร่
ปลาสิงห์ญี่ปุ่นเกรดเอ รอจำหน่ายอุปกรณ์ในการล้างบ่อ
เติมด่างทับทิมฆ่าเชื้อป้องกันโรคบ่อดินสำหรับอนุบาลลูกปลา
 ภาพที่ 31  ฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาทองที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
.
 ภาพที่ 32  ฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาทองในประเทศจีน มีการจัดทัวร์ชมฟาร์ม 
                                           ที่มา : Vermilliongoldfishclub.com (2006)                          
 . 
 

การอนุบาลปลาทอง


  การอนุบาลปลาทอง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การอนุบาลลูกปลาทอง ปลาทอง
                บ่อที่จะใช้สำหรับอนุบาลลูกปลาทองควรเป็นบ่อซีเมนต์ ขนาด 4 - 10 ตารางเมตร มีความลึกประมาณ 40 - 50 เซนติเมตร  เป็นบ่อที่สามารถถ่ายเทน้ำได้อย่างดี โดยเฉพาะถ้าสามารถปรับระบบน้ำไหลได้จะทำให้ลูกปลามีความแข็งแรงมาก เจริญเติบโตรวดเร็วและมีอัตรารอดดี เพราะการระบายน้ำจะช่วยระบายของเสียหรือสิ่งขับถ่ายของลูกปลาออกไปได้เป็นอย่างดี ดังนั้นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ลูกปลาเติบโตเร็วก็คือ การระบายน้ำและการเปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นประจำทุกวัน 
                การเลี้ยงลูกปลาทองหรือการอนุบาลจำเป็นต้องอาศัยสังเกตุเป็นหลัก การจะกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนกระทำได้ยาก เริ่มจากลูกปลาที่ฟักออกจากไข่ ในช่วงแรกจะมีถุงอาหาร (Yolk Sac) ติดอยู่ที่หน้าท้อง ลูกปลาจะยังไม่กินอาหาร สังเกตุได้จากการที่ลูกปลาจะเกาะอยู่ที่รังหรือผนังบ่อ เมื่อลูกปลาใช้อาหารจากถุงอาหารหมดแล้วลูกปลาจึงจะว่ายน้ำตามแนวระดับไปเรื่อยๆเพื่อหาอาหารกิน ควรดำเนินการให้อาหารดังนี้
8.1 ช่วงแรก   เนื่องจากปลาทองเป็นปลาที่กินอาหารได้แทบทุกชนิด จัดว่าเป็นปลาที่กินอาหารได้ง่าย จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้อาหารที่มีชีวิตในการอนุบาลลูกปลาทอง การอนุบาลลูกปลาทองเลือกใช้อาหารได้ดังนี้
               ไข่ต้ม  ใช้ไข่ไก่หรือไข่เป็ดต้มสุก แล้วเอาเฉพาะไข่แดงไปขยี้น้ำผ่านผ้าไนล่อนหรือกระชอน จะได้น้ำไข่แดงเหมือนน้ำตะกอน นำไปสาดให้ปลากิน ควรใช้ไข่แดงเลี้ยงลูกปลาเป็นเวลา 3 วัน ลูกปลาจะเคยชินกับการกินอาหารและกินอาหารเก่ง ขนาดของลูกปลาก็จะโตขึ้นอย่างเด่นชัด
.
ภาพที่ 28  ลักษณะของลูกปลาทองที่ยังไม่ได้กินอาหาร (ซ้าย)
                                               กับที่ได้กินไข่ต้มแล้วที่ส่วนท้องจะมีสีขาว (ขวา)  
.
ภาพที่ 29  แสดงการใช้ไข่แดง
ขยี้ผ่านผ้าขาวบางเพื่อใช้เป็นอาหารเลี้ยงลูกปลาทอง  


.
                 อาหารผง ใช้อาหารผงอนุบาลลูกปลาดุก ใช้ให้ต่อจากการใช้ไข่ต้มได้เลย โดยในช่วงแรกควรให้โดยโปรยลงบนผิวน้ำ อาหารจะค่อยๆจมตัวลง เลี้ยงต่อไปอีกประมาณ 5 วัน  จากนั้นควรเปลี่ยนวิธีให้จากการโปรยอาหารลงผิวน้ำ เป็นนำอาหารผงมาคลุกน้ำพอหมาดๆ   อาหารพวกนี้จะมีคุณสมบัติในการปั้นก้อนได้ดี แล้วจึงนำไปให้ปลา ลูกปลาก็จะมาตอดกินอาหารได้เอง
                สำหรับในเรื่องของปริมาณอาหารที่จะให้ปลานั้น เนื่องจากลูกปลามีขนาดเล็กมากการกำหนดปริมาณอาหารเป็นจำนวนตายตัวนั้นค่อนข้างยาก เช่นการใช้ไข่แดง ปริมาณที่จะให้แต่ละมื้อจะใช้ประมาณเท่าเมล็ดถั่วแดงต่อลูกปลาที่เกิดจากแม่ปลา 1 แม่  ผู้เลี้ยงต้องอาศัยการสังเกตและการเอาใจใส่ค่อนข้างมาก การให้อาหารมากเกินไปจะทำให้น้ำเน่าเสีย ลูกปลาจะยิ่งเติบโตช้าและมักจะติดเชื้อเกิดโรคระบาดตายเกือบหมด แต่ถ้าน้อยเกินไปลูกปลาก็จะโตช้าและมักจะมีขนาดแตกต่างกันอย่างมาก โดยจะมีลูกปลาขนาดโตไม่กี่ตัว วิธีการกะปริมาณอาหารที่ดีคือ ผู้เลี้ยงจะต้องดูจากตัวลูกปลาภายหลังจากที่ให้อาหารไปแล้วประมาณ 15 - 20 นาที ใช้แก้วน้ำตักลูกปลาขึ้นมาดู ถ้าเป็นช่วงที่ให้ไข่แดงเป็นอาหาร จะเห็นว่าที่บริเวณท้องของลูกปลาจะมีสีขาว ถ้าเป็นอาหารผงท้องจะเป็นแนวดำ ดังนั้นถ้าเห็นว่าลูกปลาทุกตัวมีอาหารที่บริเวณท้องเป็นแนวยาวตลอด ก็แสดงว่าอาหารพอ แต่ถ้าเห็นว่าลูกปลาบางส่วนมีอาหารที่ท้องอยู่น้อยก็แสดงว่าอาหารไม่เพียงพอ ควรให้อาหารเพิ่มอีก
                หมายเหตุ ช่วงนี้ควรให้อาหารวันละ 3 ครั้ง  คือ เช้า กลางวัน และเย็น
8.2 ช่วงหลัง   ถึงแม้ลูกปลาจะกินอาหารผงได้ดี แต่อาหารผงก็มีข้อเสียที่มักมีการแตกตัวและกระจายตัวได้ง่าย ซึ่งเป็นบ่อเกิดของน้ำเสีย ดังนั้นเมื่ออนุบาลลูกปลาในช่วงแรกด้วยไข่และอาหารผง เป็นเวลาประมาณ  15 วัน   ก็ควรจะเปลี่ยนมาเป็นอาหารเม็ดลอยน้ำโดยใช้อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงลูกปลาดุกเล็กระยะแรก ให้ลูกปลาได้เลยจะเห็นว่าอาหารจะลอยตัวอยู่ผิวน้ำ จากนั้นประมาณ 15 - 20 นาที อาหารจะพองขยายตัวขึ้นและนิ่ม ในวันแรกลูกปลาจะยังไม่เคยชินกับอาหารลอยน้ำ ฉนั้นให้ใช้นิ้วบีบอาหารที่ลอยอยู่บางส่วนให้จมตัวลง และมีอาหารลอยน้ำเหลืออยู่บ้าง ทำเช่นนี้ประมาณ  3 วัน ลูกปลาจะเคยชินกับการกินอาหารเม็ดลอยน้ำได้ดี     
            ขั้นตอนต่อไปที่สำคัญ  คือ การทำความสะอาดบ่ออนุบาล โดยเฉพาะในการอนุบาลช่วงแรก ไม่ว่าจะเป็นการใช้ไข่แดงหรืออาหารผงให้เป็นอาหารลูกปลา ทั้งไข่แดงและอาหารผงจะเหลือตกตะกอนเป็นเมือกอยู่ที่พื้นก้นบ่อเป็นประจำทุกวัน ดังนั้นหลังจากให้อาหารเช้าแล้วประมาณ 1 ชั่วโมง ควรทำความสะอาดผนังและพื้นก้นบ่อ โดยใช้ฟองน้ำค่อยๆลูบไปตามผนังและพื้นก้นบ่อให้ทั่ว ถ้าเป็นบ่อที่มีระบบกรองที่ดี ตะกอนเมือกที่ถูกขัดออกมาก็จะถูกขจัดออกได้โดยง่าย  
.

การฟักไข่ปลาทอง

                  การฟักไข่ปลาทอง   


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การฟักไข่ ปลาทอง
               
 เมื่อประสบผลสำเร็จในการเพาะปลาทองหรือสามารถทำให้ปลาทองวางไข่ได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการฟักไข่ ซึ่งอาจใช้บ่อเพาะเป็นบ่อฟักไข่ได้เลย โดยการช้อนเอาพ่อแม่ปลาออก จากนั้นเพิ่มระดับน้ำเป็น 30 - 40 เซนติเมตร  เปิดแอร์ปั๊มเพื่อให้ออกซิเจนและเกิดการหมุนเวียนน้ำตลอดเวลา และถ้าสามารถเพิ่มน้ำใหม่ทำให้มีการระบายน้ำด้วย จะช่วยไล่ความคาวที่เกิดขึ้นระหว่างการพัฒนาของไข่ออกไปเรื่อยๆ จะทำให้ไข่ปลาทองฟักตัวได้ดีไม่ค่อยมีการติดเชื้อ แต่ต้องใส่ผ้ากรองกันไว้ที่ทางออกของท่อน้ำล้น  เพื่อกันลูกปลาที่ฟักตัวออกจากไข่ไม่ให้ไหลไปตามน้ำ  แม่ปลา 1 ตัวจะสามารถวางไข่ได้ครั้งละ  1,000 - 3,000 ฟอง ไข่จะใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 48 - 56 ชั่วโมง (2 - 3  วัน)  ลูกปลาที่ฟักตัวออกจากไข่แล้วมักจะเกาะอยู่ที่รัง  หรือว่ายน้ำออกไปเกาะอยู่ที่ผนังบ่อ  รอจนเช้าวันที่ 4 หลังจากที่ปลาวางไข่จึงค่อยๆเขย่ารังเพื่อไล่ลูกปลาออกจากรัง แล้วปลดรังออก

วิธีการเพาะปลาทอง



ปลาทองจัดว่าเป็นปลาที่ดำเนินการเพาะพันธุ์ได้อย่างง่ายๆ โดยวิธีการเพาะแบบช่วยธรรมชาติ ปกติปลาทองจะมีการแพร่พันธุ์วางไข่ในตู้กระจกหรือบ่อที่ใช้เลี้ยงอยู่แล้ว ซึ่งมักจะไล่ผสมพันธุ์วางไข่ในตอนเช้าของวันถัดไปหลังจากที่ผู้เลี้ยงมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ให้ แต่ที่ผู้เลี้ยงไม่พบว่ามีลูกปลาทองเกิดขึ้นในตู้เลี้ยงปลา เนื่องจากว่าปลาทองเป็นปลาที่ไข่ทิ้งไม่มีการดูแลรักษาไข่ เมื่อวางไข่แล้วก็จะหวนกลับมากินไข่ของตัวเองอีกด้วย นอกจากนั้นปลาทองตัวอื่นๆหรือปลาชนิดอื่นที่เลี้ยงรวมอยู่ในตู้ด้วย ก็จะคอยเก็บกินไข่ที่ออกมาด้วย กว่าที่ไข่ที่เหลืออยู่จะฟักตัวออกมา ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 2 - 3 วัน ไข่ก็จะถูกปลาทยอยเก็บกินไปเกือบหมด ส่วนไข่ที่รอดจากถูกกินจนตัวอ่อนฟักตัวออกมา ตัวอ่อนที่ยังช่วยตัวเองไม่ได้ก็จะกลายเป็นอาหารที่ดีของปลาต่างๆอีก เพราะลูกปลาจะมีขนาดพอๆกับลูกน้ำ ทำให้ถูกจับกินไปจนหมดอย่างรวดเร็ว

ดังนั้นหากต้องการลูกปลาทองก็จำเป็นต้องมีการจัดการการเพาะให้ถูกต้อง จึงจะได้ลูกปลาจำนวนมากตามต้องการ การเพาะปลาทองจะทำได้ดี คือ ปลาวางไข่ง่าย ตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง เดือนกันยายน โดยดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

6.1 การเตรียมบ่อเพาะ บ่อที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลาทองควรเป็นบ่อซีเมนต์ มีขนาดประมาณ 1 ตารางเมตร ขัดล้างให้สะอาดด้วยแปรงและสบู่แล้วฉีดน้ำล้างหลายๆครั้ง จากนั้นเตรียมน้ำใหม่ที่ระดับประมาณ 20 - 25 เซนติเมตร นอกจากนั้นยังอาจใช้กะละมังขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50 เซนติเมตร เป็นบ่อเพาะปลาทองก็ได้

.



6.2 การเตรียมรัง ปลาทองเป็นปลาที่มีไข่ประเภทไข่ติด พฤติกรรมการวางไข่นั้นปลาเพศผู้จะว่ายน้ำไล่ปลาเพศเมียไปเรื่อยๆ ปลาเพศเมียเมื่อพร้อมจะวางไข่จะว่ายน้ำเข้าหาพรรณไม้น้ำตามริมน้ำ แล้วปล่อยไข่ครั้งละ 10 - 20 ฟองปลาเพศผู้ที่ว่ายน้ำตามมาก็จะปล่อยน้ำเชื้อตาม ไข่จะได้รับการผสมพร้อมกันนั้นก็เกิดสารเหนียวที่เปลือกไข่ ทำให้ไข่เกาะติดอยู่ตามราก ลำต้น และใบของพรรณไม้น้ำ ดังนั้นการเตรียมรังในบ่อเพาะปลาทอง ควรเป็นรังที่ช่วยให้ไข่ติดได้ง่ายและมากที่สุด คือต้องมีลักษณะเป็นฝอยนิ่มและค่อนข้างยาว รังที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่รังที่ทำจากเชือกฟางโดยนำเชือกฟางสีใดก็ได้มาผูกเป็นกระจุก(คล้ายกับพู่ที่เชียร์ลีดเดอร์ใช้) มีความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร แล้วฉีกให้เป็นฝอยโดยพยายามให้เป็นเส้นฝอยขนาดเล็กให้มากที่สุด จากนั้นนำไปจุ่มในน้ำเดือดเพื่อให้เกิดความนุ่ม แล้วทำกรอบไม้ (อาจใช้ท่อ เอสล่อน)ให้ลอยอยู่ผิวน้ำ ขนาดเล็กกว่าบ่อเพาะเล็กน้อยเพื่อให้กรอบลอยอยู่บนผิวน้ำในบ่อได้ดีนำรังมาผูกในกรอบไม้เพื่อให้รังลอยตัว และรังจะกระจายตัวกัน หากไม่ทำกรอบผูกรัง รังจะถูกแรงลมที่เกิดจากเครื่องแอร์ปั๊ม ทำให้รังลอยไปรวมเป็นกระจุกอยู่ริมบ่อ ปลาจะวางไข่ที่รังได้ยาก การทำให้รังกระจายตัวกัน ช่วยให้ปลาสามารถวางไข่โดยกระจายไข่ตามรังที่จัดไว้ทุกรังได้เป็นอย่างดี

.





6.3 การเตรียมพ่อแม่พันธุ์ คือการเลี้ยงและคัดปลาที่พร้อมจะผสมพันธุ์จากปลาที่เลี้ยงไว้รวมกัน โดยจะต้องเน้นเป็นปลาที่มีไข่แก่และน้ำเชื้อดี การที่จะเลี้ยงปลาทองให้มีไข่แก่และน้ำเชื้อได้ดีนั้นเป็นเรื่องไม่ยาก จากที่ได้กล่าวไว้แล้วว่าการเลี้ยงปลาสวยงามเป็นการเลี้ยงปลาที่มีคุณภาพน้ำดีกว่าการเลี้ยงปลาแบบอื่นๆ เนื่องจากมีระบบกรองน้ำที่ดี ในสภาพน้ำที่ค่อนข้างดีปลาจะใช้อาหารที่ได้รับไปสำหรับการเจริญเติบโต ส่วนการพัฒนาของระบบสืบพันธุ์จะเป็นไปอย่างช้าๆ เมื่อใดที่คุณภาพน้ำเริ่มมีการสะสมของสิ่งหมักหมมต่างๆมากขึ้น ปลาที่สมบูรณ์เพศแล้วจะเริ่มมีการพัฒนาระบบสืบพันธุ์มากขึ้นเปรียบเทียบได้กับฤดูร้อนซึ่งน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติจะลดระดับลงเรื่อยๆน้ำจะมีการสะสมแร่ธาตุต่างๆมากขึ้น ปลาจะใช้อาหารที่ได้รับเพื่อการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ เป็นการเตรียมพร้อมเพื่อการแพร่พันธุ์ในฤดูฝนที่จะมาถึง ดังนั้นการเลี้ยงปลาทองเพื่อให้ปลามีไข่แก่และน้ำเชื้อดีแทบทุกตัวพร้อมกัน จึงต้องอาศัยการเลียนแบบธรรมชาติ ซึ่งวิธีที่สะดวกและง่ายที่สุด คือ การปรับปรุงระบบเครื่องกรองน้ำ โดยเปลี่ยนมาใช้เครื่องกรองน้ำแบบหม้อกรองในตู้ ซึ่งช่วยทำให้น้ำใสได้บ้างพอควรและเก็บตะกอนไว้ได้ด้วย ล้างหม้อกรองประมาณ 3 วัน ต่อครั้ง และงดการเปลี่ยนถ่ายน้ำในตู้ปลาหรือบ่อเลี้ยงปลาโดยเด็ดขาด หากจำเป็นต้องเติมน้ำเนื่องจากระดับน้ำลดลง ควรเติมในช่วงเช้า เพราะการเติมน้ำในตอนเย็นซึ่งอุณหภูมิเริ่มลดลง และปลาได้รับน้ำใหม่อาจมีผลกระตุ้นให้ปลาไข่แก่บางตัววางไข่ในเช้าวันถัดไปได้ พ่อแม่พันธุ์ปลาทองที่จะนำมาใช้เพาะพันธุ์ควรมีอายุประมาณ 10 เดือน นำมาเลี้ยงรวมกันเป็นเวลาประมาณ 30 - 50 วัน ปลาทองที่คัดมาเลี้ยงแทบทุกตัวจะมีไข่แก่และน้ำเชื้อสมบูรณ์เหมือนกันแทบทุกตัว ทำให้สะดวกที่จะคัดไปปล่อยลงบ่อเพาะ และควรคัดไปปล่อยเวลาประมาณ 16.00 น.

ข้อควรพิจารณาในการเตรียมพ่อแม่พันธุ์ปลาทอง ควรหลีกเลี่ยงปลาในครอกเดียวกันเพื่อป้องกันการผสมเลือดชิด

.



6.4 จำนวนปลาและสัดส่วนเพศ การปล่อยปลาลงบ่อเพาะแต่ละบ่อควรปล่อยปลาเพียงบ่อละ 1 คู่ หรือใช้ปลาเพศเมีย 1 ตัว กับปลาเพศผู้ 2 ตัว เนื่องจากการใช้ปลามากกว่า 1 คู่ นั้น ในขณะที่ปลาเพศเมียตัวที่พร้อมจะวางไข่ถูกปลาเพศผู้ว่ายน้ำไล่ไปนั้น จะถูกปลาตัวอื่นๆคอยรบกวนโดยว่ายน้ำติดตามกันไปหมดทุกตัว เพราะปลาเหล่านั้นต้องการตามไปกินไข่ของแม่ปลาที่จะปล่อยออกมา การปล่อยปลาหลายคู่จึงกลับกลายเป็นข้อเสีย ดังนั้นการปล่อยปลาเพียงบ่อละคู่จะทำให้ไข่มีอัตราการผสมค่อนข้างดี และได้จำนวนมาก






6.5 การเพิ่มน้ำและลม หากต้องการให้ปลาได้รับการกระตุ้นและเกิดการวางไข่อย่างแน่นอน ควรจะมีการให้ลมเพื่อให้น้ำเกิดการหมุนเวียนแรงพอสมควร นอกจากนั้นถ้าหากสามารถทำให้เกิดกระแสน้ำ หรือทำให้เกิดฝนเทียม ก็จะทำให้ปลาวางไข่ได้ง่ายขึ้น ฉนั้นบ่อเพาะที่ดีจะต้องมีระบบน้ำล้นที่ดีด้วย

6.6 การวางไข่ของปลา ถ้าหากคัดปลาได้ดี คือ ปลามีไข่แก่และน้ำเชื้อดี ปลาจะผสมพันธุ์วางไข่ตอนรุ่งเช้าของวันถัดไป หากปลายังไม่วางไข่จะปล่อยพ่อแม่ปลาไว้อีก 1 คืน แต่ถ้าเช้าวันถัดไปปลาก็ยังไม่วางไข่ แสดงว่าผู้เพาะคัดปลาไม่ถูกต้อง คือปลาเพศเมียที่คัดมาเพาะมีรังไข่ยังไม่แก่จัดพอที่จะวางไข่ได้ จะต้องปล่อยพ่อแม่ปลาที่คัดมาเพาะกลับคืนลงบ่อเลี้ยง แต่ถ้าปลาวางไข่จะสังเกตได้ว่าน้ำในบ่อเพาะมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไป โดยมักจะเกิดเมือกเป็นฟองตามผิวน้ำและรัง เมื่อพิจารณาที่รังจะเห็นว่ามีไข่ปลาทอง มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆสีเหลืองอ่อนค่อนข้างใส เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร ติดอยู่ตามเส้นเชือกภายในรัง เม็ดไข่ที่ดูใสนี้แสดงว่าเป็นไข่ที่ได้รับการผสมหรือไข่ดีและจะมีเม็ดไข่ที่สีขุ่นขาวซึ่งเป็นไข่ที่ไม่ได้รับการผสมหรือเป็นไข่เสีย


ประวัติปลาทอง

ประวัติปลาทอง 


      ปลาทองมมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงในยุโรปเมื่อศตวรรษที่ 17 และถูกนำไปเผยแพร่ในอเมริกา ในศตวรรษที่ 19 ชาวจีนและชาวญี่ปุ่นรู้จักผสมพันธ์      ปลาทองมานานแล้วและได้ปลาทองลูกผสมที่น่าสนใจ มีสีหลากหลายตั้งแต่สีแดง สีทอง สส้ม สีเทา สีดำและสีขาว แม้กระทั่งปลาทองสารพัดสีในตัวเดียวกัน ปลาทองมีชีวิตอยู่ตามแหล่งธรรมชาติจนกระทั่งมีชาวจีนบางคน ได้จับมาเลี้ยงตามบ่อเพราะดูน่าตาสวยดี สีสันแปลกตา สร้างความเพลิดเพลินใจได้เป็นอย่างดี จึงเลี้ยงสืบต่อกันมาเรื่อย ๆ ทำให้มีการ แปรผันผันแปร และพัฒนาเรื่อยมา ประกอบกับความนิยมเลี้ยงที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ
ทำให้ปลาทองที่เลี้ยงมีรูปร่างหน้าตาเปลี่ยนแปรไป เช่นแต่เดิมปลาทองจะหาอาหารตามบ่อน้ำธรรมชาติเพื่อเลี้ยงชีวิตซึ่งต้องออกเรี่ยวออกแรงไขมันส่วนเกินก็ไม่มีหุ่นก็เพรียวลม ครั้นย้ายนิวาสสถานมาอยู่ตามบ่อเลี้ยง อาหารปลาก็ถูกนำมาเสริฟกันถึงขอบบ่อ แถมเสริฟเป็นเวลาซะด้วย ทำให้ปลาทองบางตัวพุงป่องดูอ้วนตุ้ยนุ้ยขึ้นและหากลักษณะต่างๆดังกล่าวเกิดเป็นที่ประทับใจมนุษย์หรือคนดูคนชมว่าสวยแล้ว ก็จะถูกขุนขึ้นไปเรื่อยๆตามสูตร
ปลาทองถูกมนุษย์เลี้ยงมาตั้งแต่อดีต ประมาณ พ.ศ. 1161-1450 หรือนับเป็นพันปีมาแล้ว ปลาทองในสภาพธรรมชาติที่ไม่ได้ถูกมนุษย์นำมาเลี้ยงนั้นก็ได้พัฒนาตัวเอง ทำมาหากินตามธรรมชาติ สืบทอดสายพันธ์มาจนถึงปัจจุบัน ก็แทบจะเป็นคนละปลาเดียวกันกับปลาทองของวันนี้เลย เพราะเมื่อพิจารณาดูจะพบว่าปลาใน ปลาตะเพียนทั้งหลายแหล่ต่างก็อยู่ในเทือกเขาเหล่าตระกูลเดียวกันกับปลาทอง คือ FAMILY CYYPRNDAE









วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

อาหารของปลาทอง

                            อาหารสำหรับเลี้ยงปลาทอง 

                               



                  อาหารสำหรับ ปลาทอง ก็มีหลากหลายชนิดให้คุณได้เลือกดังต่อไปนี้

1. อาหารตามธรรมชาติ  
ปลาทอง เป็นปลาที่กินอาหารได้ทั้งสัตว์และพืช แต่ ปลาทอง จะชอบกินสิ่งมีชีวิต ประเภท ลูกน้ำและ ไรแดง มากเป็นพิเศษครับ เพราะให้โปรตีนในปริมาณที่สูง เหมาะกับการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ ปลาทอง ในปัจจุบันหนอนแมลงวัน ก็เป็นอาหารอีกชนิดที่นิยมนำมาเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงปลาทอง

ข้อดีของอาหารที่มีชีวิต
1. ปลาทอง จะมีเอนไซม์ช่วยย่อย ทำให้ปลาทองสามารถย่อยและทานได้ตลอดเวลา
2. อาหารที่มีชีวิตมี กรดอะมิโนที่สำคัญ และจำเป็น ช่วยให้ปลาทองเจริญเติบโตได้ดี
3. มีสารสีต่าง ๆ แบบธรรมชาติ ช่วยในการป้องกันและสร้างภูมิต้านทานโรคซึ่งปลาทอง ผลิตไม่ได้เองตามธรรมชาติ
4. มีราคาถูกกว่า อาหารปลาทอง เม็ดสำเร็จรูป
  
                                                             

2. อาหารปลาทองสำเร็จรูป ได้แก่ 
อาหารเม็ด ที่มีขนาดเล็กเป็นอาหารที่เหมาะกับ ปลาทอง
การเลือกอาหารเม็ด ควรเลือกอาหารที่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนสูงซึ่งทำให้ปลาทองเติบโตได้ดีและมีสีสันสวยงามโดยทั่วไป
โดยส่วนประกอบของอาหารปลาทองสำเร็จรูปควรมี โปรตีน ประมาณ 40 - 50 เปอร์เซ็นต์

ข้อดีของอาหารปลาทองสำเร็จรูป 
1. สะดวก สบาย และ ไม่ยุ่งยากในการจัดเตรียมอาหารให้ปลาทอง
2. อาหารสำเร็จรูป บางชนิด มีการเสริมสารเร่งสี ทำให้ปลาทองมีสีสันสวยสด งดงาม
3. มีปริมาณ สารอาหารที่แน่นอน สามารถควบคุมการกินอาหารของปลาทองได้ง่าย

การให้อาหารปลาทอง เราควรคำนึงถึง ปริมาณอาหารที่ให้ โดยปริมาณ อาหารที่ให้ ควรให้วันละ 3 -5 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักปลาทอง การให้อาหาร โดยเฉพาะอาหารปลาทองชนิดเม็ดสำเร็จรูป ควรให้ในปริมาณที่ไม่มากเกินไปนัก โดยควรให้ปลาทองกินให้หมดภายใน 15 นาที ไม่เช่นนั้นแล้ว น้ำในตู้ปลาทองอาจจะเกิดการเน่าเสียได้เช่นกัน ซึ่งจะทำให้เกิดโรคแก่ปลาทอง โดยอาจจะแบ่งให้อาหารปลาทองวันละหลายรอบก็ได้

          


ที่อยู่อาศัยของปลาทอง

ที่อยู่อาศัยของปลาทอง


          มีความแตกต่างในการเลี้ยงปลาแล้วความเหมือนในการเลี้ยงปลาก็มีเหมือนกัน เพราะอาหารการกินของปลาก็ใช้อาหารเหมือนกัน สามารถกินด้วยกันได้ การเปลี่ยนน้ำให้ปลาก็ต้องเปลี่ยนอยู่บ่อยๆเพื่อทำความสะอา
ดตู้ปลา แต่อย่าลืมว่าการเปลี่ยนน้ำให้ปลานั้นจะต้องเปลี่ยนเป็นขั้นเป็นตอน ใครที่ยังไม่เคยเปลี่ยนน้ำให้ปลาสามารถดูได้ดังนี้เลย เพราะว่าวันนี้ทางเรามีความรู้ในเรื่องการเปลี่ยนน้ำในตู้ปลามาฝากกัน

                                               ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ที่อยู่อาศัยปลาทอง
  
  1. หากเป็นตู้ปลาควรมีสายยางเพื่อดูดน้ำในตู้ปลาออก แล้วทำความสะอาดตู้ปลา แต่การดูดน้ำในตู้ปลานี้ควรให้มีน้ำเหลือยู่ในตู้ปลาสักครึ่งหนึ่งของตู้ปลา เพื่อไม่ให้ปลารู้สึกอึดอัดที่อยู่ในน้ำใหม่ และหมดความสดชื่นกับน้ำที่เคยอยู่                                            
  2.  น้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำประปา ห้ามเป็นน้ำฝนเด็ดขาดเพราะอาจทำให้สารเคมีที่ตกค้างอยู่ในน้ำทำให้ปลาตายได้ แต่น้ำประปาที่ใช้ก็ต้องรองใช้อ่างเอาไว้ 5 -6 วัน เพื่อให้อุณหภูมิและปัจจัยอื่นๆเข้าที่ จึงจะสามารถเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาได้                                                     

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ลักษณะพันธุ์ของปลาทอง

ปลาทอง
 
ข้อมูลทั่วไป
            ชื่อสามัญ                   Goldfish 
                ชื่อวิทยาศาสตร์                 Carassius  auratus (Linn.)   
                ถิ่นกำเนิด                            ในประเทศจีนตอนใต้
การจำแนกทางอนุกรมวิธาน       
   Class                                    Osteichthyes
                 Subclass                                Teleostei
                 Order                     Cypriniformes
                 Suborder                            Cyprinoidei (Carps)
                 Family                          Cyprinidae
                 Genus                           Carassius
                 Species                          auratus             
ลักษณะพันธุ์ของปลาทอง
                1.1 ปลาทองที่มีหางเดี่ยว   อาจเรียกหางปลาทู  หรือหางแฉก (Fork  Tail)   ลักษณะหางเป็นแผ่นแบนกว้าง   เว้าตรงกลางหรือเป็น  2  แฉก   มีสายพันธุ์ที่นิยม  2  สายพันธุ์   คือ
1.1.1 พันธุ์โคเมท (Comet)   เป็นปลาทองสายพันธุ์ดั้งเดิม   หรือต้นตระกูลของปลาทอง   ลักษณะลำตัวค่อนข้างแบนยาวคล้ายปลาไน   ลำตัวมักมีสีแดง   สีแดงสลับขาว   หรือสีทอง   ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยม
                  
1.1.2  พันธุ์ชูบุงกิง (Shubunkin)    ลักษณะคล้ายพันธุ์โคเมท   แต่จะมีจุดประที่ลำตัวหลายสี   เช่น  สีแดง  สีขาว  สีม่วง  สีส้ม  และสีดำ   เกล็ดค่อนข้างใส   จัดเป็นปลาทองที่สวยงามมากชนิดหนึ่ง  ได้รับความนิยมมากในสมัยก่อนและมีการตั้งชื่อไว้หลายชื่อ  เช่น   Speckled  Goldfish ,  Harlequin  Goldfish ,  Vermilion  Goldfish  หรือ  Coronation  fish
                
 1.2 ปลาทองที่มีหางคู่   คือมีส่วนหางแยกออกเป็น  3 - 4  แฉก   มีทั้งที่มีครีบหลังตามปกติ   หรือบางชนิดไม่มีครีบหลัง   มีที่ได้รับความนิยมหลายสายพันธุ์  ดังนี้
1.2.1 พันธุ์ออรันดา (Oranda) สมัยก่อนมักเรียกฮอลันดาหรือฮอลันดาหัวแดง  ลักษณะลำตัวค่อนข้างยาว  มีครีบครบทุกครีบ  หางยาว  และมีลักษณะเด่นคือมีวุ้นที่ส่วนหัว (Hood) คล้ายพันธุ์หัวสิงห์  แต่มักไม่ขยายใหญ่เท่าหัวสิงห์  สีของวุ้นมักออกเป็นสีเหลืองส้ม  เป็นปลาทองที่มีขนาดใหญ่ และมีความสวยงามมากชนิดหนึ่ง  สีของลำตัวมักออกสีขาวเงิน ชาวญี่ปุ่นเรียก Oranda  Shishigashira
                             
1.2.2 พันธุ์ริวกิ้น (Ryukin  or  Veittail )   ลักษณะเด่น  คือ   เป็นพันธุ์ที่มีหางค่อนข้างยาวเป็นพวงสวยงามเป็นพิเศษ   คล้ายริบบิ้นหรือผ้าแพร   ทำให้มีชื่อเรียกได้หลายชื่อ  คือ  Fringetail ,  Ribbontail ,  Lacetail ,   Muslintail  และ  Japanese  Fantail   ในขณะที่ว่ายน้ำครีบหางจะบานเป็นสง่า   ลำตัวค่อนข้างกลมสั้น   และมักมีสีแดงสลับขาว  บางชนิดอาจมี 5 สี  เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมาก     
                            

                 1.2.3 พันธุ์ตาโปน (Telescope-eyes  Goldfish)   อาจเรียก  Pop-eyes  Goldfish   ชาวจีนนิยมเรียก  Dragon  Eyes   ชาวญี่ปุ่นเรียก  Aka  Demekin   ซึ่งแปลว่าตาโปนเช่นกัน   ลักษณะเด่นของพันธุ์  คือ  ลูกตาจะยื่นโปนออกมามากเหมือนท่อกล้องส่องทางไกล   พันธุ์ตาโปนที่นิยมเลี้ยงมี  5  ชนิด  คือ
                                       
                                       พันธุ์ตาโปนสีแดง (Red  Telescope-eyes  Goldfish)   มีสีแดงตลอดตัว   ได้รับความนิยมมากในญี่ปุ่น
              
                              พันธุ์มัว (Moor)   หรือเล่ห์ (Black  Moor  or  Black  Telescope-eye  Goldfish)   เป็นพันธุ์ที่รู้จักดีในประเทศไทยในชื่อ เล่ห์ หรือ ลักเล่ห์  ลักษณะเด่น  คือ  ลำตัวมีสีดำสนิทตลอด  ตาจะไม่โปนมากนัก  ชาวญี่ปุ่นเรียกพันธุ์นี้ว่า  Kuro  Demekin
      
                               พันธุ์ตาโปนสามสี (Calico  Telescope-eyes  Goldfish)   รู้จักกันดีในประเทศไทยว่าลักเล่ห์ห้าสี   เป็นพันธุ์ที่มีเกล็ดค่อนข้างบาง   ลำตัวมีสีสันหลายสีสดเข้มและมักมีเพียง  3  สี   แต่สีที่พบในพันธุ์นี้จะมี  5  สี  คือ  สีแดง  สีขาว  สีดำ  สีน้ำตาลออกเหลือง  และสีแดงออกม่วง   ชาวญี่ปุ่นเรียกพันธุ์นี้ว่า  Sanshoku  Demekin
          
                               พันธุ์ตาลูกโป่ง (Bubble  Eye  Goldfish)   ลักษณะเด่น  คือ  มีเบ้าตาพองออกคล้ายลูกโป่งทั้งสองข้าง   เวลาว่ายน้ำมักจะแกว่งไปมา   ลำตัวมักมีสีขาวหรือเหลืองแกมส้ม   มีทั้งที่มีครีบหลังและไม่มีครีบหลัง

        
                                 พันธุ์ตากลับ (Celestial  Goldfish)   ลักษณะเด่น  คือ  ตาที่โปนออกมาจะหงายกลับขึ้นข้างบน   ชาวจีนเรียกว่า   Shotengan   แปลว่าตามุ่งสวรรค์   หรือตาดูฟ้า   ต่อมาชาวญี่ปุ่นนำไปเลี้ยงและพัฒนาได้หางสั้นกว่าเดิม   เรียก  Demeranchu
               
                1.2.4 พันธุ์เกล็ดแก้ว (Pearl  Scale  Goldfish)   ลักษณะลำตัวค่อนข้างกลมคล้ายลูกปิงปอง   ส่วนหัวเล็กมาก  หางยาว   ลักษณะเด่น คือ  มีเกล็ดนูนขึ้นมาต่างกับเกล็ดธรรมดาทั่วไปอย่างชัดเจน   สีของลำตัวมักมีสีขาว  สีส้ม   และสีทอง  
 
                 1.2.5 พันธุ์หัวสิงห์ (Lionhead  Goldfish  or  Ranchu)   ลักษณะเด่นของพันธุ์นี้คือ   ไม่มีครีบหลัง   หางสั้นและเป็นครีบคู่   ที่สำคัญคือ  ส่วนหัวจะมีก้อนวุ้นปกคลุมอยู่   ทำให้มีชื่อเรียกได้อีกหลายชื่อ   เช่น  Hooded  Goldfish ,  Buffalo-head  Goldfish   ส่วนในญี่ปุ่นเรียก  Ranchu   ในประเทศไทยเรียกกันโดยทั่วไปว่า “หัวสิงห์”   เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน   และนิยมจัดประกวดกันเป็นประจำ   จนอาจเรียกได้ว่าเป็นเจ้าพ่อของปลาทอง (King  of  The  Goldfish)   มีอยู่หลายชนิดที่นิยมเลี้ยง  ได้แก่

                           สิงห์ญี่ปุ่น   เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด   ลักษณะทั่วไปคือ  ลำตัวค่อนข้างสั้นและส่วนหลังโค้งมนสวยงาม   สีของลำตัวเป็นสีส้มเข้มเหลือบทองต้องตา   วุ้นที่ส่วนหัวมีลักษณะเล็กละเอียดขนาดไล่เลี่ยกันและค่อนข้างหนา   ครีบหางสั้นและจะยกสูงขึ้นเกือบตั้งฉากกับลำตัว   ครีบก้นเป็นครีบคู่มีขนาดเท่ากัน
 
                            สิงห์จีน   เป็นพันธุ์ต้นตระกูลของหัวสิงห์   กำเนิดในจีน   ลำตัวค่อนข้างยาว   ส่วนหลังไม่โค้งมากนัก   หางค่อนข้างยาวอ่อนลู่   หัวค่อนข้างใหญ่และมีวุ้นดกหนากว่าสายพันธุ์อื่น   และทางด้านท้ายของวุ้นไม่ขรุขระ   ทำให้มองเหมือนหัวมีขนาดใหญ่กว่าลำตัว   สีของลำตัวเป็นสีส้มแกมทองแต่ไม่สดมากนัก
                          
                           สิงห์หัวแดง  สิงห์ตันโจ  ลักษณะทั่วไปคล้ายสิงห์ญี่ปุ่น   แต่สีของลำตัวเป็นสีขาวเงิน   ส่วนหัวและวุ้นจะมีสีแดง
 
                             สิงห์ตามิด สิงห์สยาม   ลักษณะทั่วไปคล้ายสิงห์ญี่ปุ่น   แต่สีของลำตัวเป็นสีดำสนิทตลอดลำตัว   แม้กระทั่งวุ้นก็เป็นสีดำ   วุ้นค่อนข้างดกหนาจนปิดลูกตาแทบมองไม่เห็น 
     
                                             สิงห์ห้าสี   ลักษณะทั่วไปคล้ายสิงห์จีน   แต่มีสีบนลำตัว  5  สี   คือ  สีดำ  สีแดง  สีขาว  สีน้ำเงิน  และสีเหลือง   เกล็ดค่อนข้างบางโปร่งใส
            สิงห์เงิน  ลักษณะทั่วไปคล้ายสิงห์หัวแดง   มีสีของลำตัวเป็นสีขาวเงิน แต่ส่วนหัวและวุ้นจะมีสีเงินด้วย